วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สโมสรมหาวิทยลัยรังสิต เอฟซี

        สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยรังสิต จากจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการก่อตั้งสมาคมกีฬาของชาว เขตดอนเมืองขึ้น พร้อมตั้ง ชื่อว่าสมาคมสโมสรดอนเมืองสัมพันธ์ โดยมี คุณวิศิษฐ์ กอวรกุล เป็นนายกสมาคม และ เป็นประธานสมาคมฟุตบอลดอนเมือง สัมพันธ์ โดยในการบริหารงานยุคเริ่มแรก จน ถึงปัจจุบัน มีนโยบายการบริหารงาน ของสมาคมฯ จากนั้นในปี พ.ศ. 2548 สมาคมดอนเมืองสัมพันธ์ ได้ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมทำการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วย พระราชทานประเภท ง. เป็นครั้งแรกและสร้างประวัติศาสตร์ ในปี 2550 จน สามารถคว้าแชมป์ ร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน พระองค์เจ้าวรวงษ์เธอพระองค์เจ้าโสมเสวรี "ฟุตบอลคริสเตียนคัพ ครั้งที่ 3" และสามารถคว้าแชมป์มาได้อีก และส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วม ทำการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช "มวก. คัพ ครั้งที่ 5" สามารถเข้าชิงชนะเลิศและคว้าอันดับ 2 มาได้ และเมื่อ พ.ศ.2553 ทางมหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีการร่วมมือกับ บริษัท JW และใช้ชื่อ สโมสรว่า เจดับบลิว-ม.รังสิต เอฟซี (JW Rangsit FC) และได้เข้าร่วมการแข่งฟุตบอล ลีคภูมิภาค ดีวิชั่น 2 ได้เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นไทยแลนด์ดิวิชั่น 1 ใช้สนาม ธูปะเตมีย์ เป็นสนามเหย้า แต่ทำได้เต็มที่แค่ อันดับที่ 16 จึงทำให้ เจดับบลิว - ม.รังสิต เอฟซี ตกชั้น หลังจาก พ.ศ. 2555 ได้กลับมาใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยรังสิต เหมือนเดิม และทำการแข่งขัน ฟุตบอลลีคภูมิภาค ดีวิชั่น 2 โซนกรุงเทพและปริมณฑล ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการจับมือกับสโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัลเอฟซี ในการแข่งขันฟุตบอลเอไอเอสลึคภูมิภาค โซนกรุงเทพและปริมณฑล โดยได้ส่งนักเตะของทางสโมสแอร์ฟอร์ซฯ เอฟซี เข้ามาทำการแข่งขันในปัจจุบันอีกด้วย


การจับมือระหว่าง สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยรังสิต กับสโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัลเอฟซี






การเปลี่ยนแปลงของตราสโมสรมหาวิทยาลัยรังสิต

บทนำ

หลักการประชาสัมพันธ์ถือได้ว่ามีบทบาทอย่างมากต่อการที่จะประชาสัมพันธ์องค์กรต่างๆ เพื่อองค์กรนั้นได้รับความสนใจจากบุคคลภายนอก อาจจะใช้คน สัตว์ สิ่งของ ในการเลือกเป็นตัวโปรโมท เช่นเดียวกับ สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยรังสิต ที่ใช้ มาสคอร์ตรูปเสือเป็นสัตว์ประจำสโมสร และมีการทำเสื้อสโมสรขึ้นมา การใช้สื่อโชเชี่ยวเน็ตเวิร์คต่างๆในการประชาสัมพันธ์สโมสร

หลักการประชาสัมพันธ์

1. การประชาสัมพันธ์ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างค่านิยมของหน่วยงานได้ดีขึ้น หมายถึง การสร้างความรู้สึกประทับใจที่บุคคลหลาย ๆ กลุ่มมีต่อหน่วยงานนั้น ๆ รวมทั้งลูกจ้าง ลูกค้า ผู้บริโภค ชุมชน พ่อค้าและรัฐบาล โดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มชนเหล่านี้ เผยแพร่ชี้แจงข่าวสารให้ประชาชนเห็นคุณความดีให้เกิดความเลื่อมใสและสร้างความผูกพันทางใจ เช่น การที่หน่วยงานประสบความสำเร็จมีกำไรพอควร และแบ่งส่วนของกำไรให้กับพนักงานในรูปของเงินเดือนที่สูงพอควร ตลอดจนมีสวัสดิการต่าง ๆ ให้เหมาะสมตามอัตภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นสมาชิกที่มีความรับผิดชอบต่อชุมชน เป็นเพื่อนบ้านที่ดี มีนโยบายส่งเสริมพนักงานให้มีตำแหน่งและความรับผิดชอบสูง มีการฝึกอบรมและพัฒนาพักงาน

2. การประชาสัมพันธ์ช่วยป้องกันรักษาชื่อเสียงของหน่วยงาน หมายถึง มีการพัฒนาปรับปรุงตัวเอง รวมทั้งสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนแล้วโอกาสที่ประชาชนจะได้รับความไม่สะดวก เกิดความเข้าใจผิด หรือมองในแง่ร้ายซึ่งจะเป็นผลในการนำไปวิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดเสียชื่อเสียงย่อมไม่มี หรือมีน้อยมากเพราะเรา ได้ตรวจสอบความคิดเห็นทัศนคติของประชาชนและทำการปรับปรุงอยู่เสมอ

3. การประชาสัมพันธ์ช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานและฝ่ายบริหาร เพราะ การประชาสัมพันธ์เป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างฝ่ายบริหารกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ด้วยการให้ข่าวสารข้อเท็จจริงและความถูกต้อง มิได้เป็นการจูงใจหรือการโฆษณาชวนเชื่อด้วยกลวาจา ย่อมทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกับฝ่ายบริหารขึ้น

4. การประชาสัมพันธ์ช่วยการขายและการตลาด การประชาสัมพันธ์เป็นการปูพื้นค่านิยม ทัศนคติที่ดีให้เกิดกับหน่วยงานเมื่อประชาชนมีค่านิยม ความรู้สึกที่ดีแล้วก็มีใจพร้อมที่จะรับฟังข่าวสาร การโฆษณาสินค้า หรือบริการต่างๆ ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความต้องการอยากได้และตัดสินใจซื้อในที่สุด ประชาสัมพันธ์ที่มีการตรวจสอบทัศนคติ ความคิดเห็น ค่านิยมของกลุ่มเป้าหมาย ยังช่วยให้ฝ่ายการตลาดวางแผนงาน ตั้งแต่ผลิตสินค้า จัดจำหน่าย โฆษณา ฯลฯ ได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพด้วย